• X
  • ค้นหา
  • TH EN
  • Menu แนะนำ
    • NAV
    • ค้นหากองทุน
    • กองทุนแนะนำ
    • กองทุนผลงานดี
    • ตารางจ่ายเงินปันผล
    • วันหยุดกองทุน
    • ข่าว/บทวิเคราะห์
    • กลยุทธ์การลงทุน
    • กำหนดการและแบบฟอร์ม
    • โปรโมชั่น
    • ข้อมูลกองทุน
    • เปรียบเทียบกองทุน
    • KTAM Daily News
    • KTAM Edutainment
  • KTAM Smart Trade
  • PVD Online
  • Agent
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ KTAM
  • กองทุนรวม
  • กองทุน RMF/LTF/SSF/ThaiESG
  • กองทุน FIF/ETF
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • Menu แนะนำ
    • NAV
    • ค้นหากองทุน
    • กองทุนแนะนำ
    • กองทุนผลงานดี
    • ตารางจ่ายเงินปันผล
    • วันหยุดกองทุน
    • ข่าว/บทวิเคราะห์
    • กลยุทธ์การลงทุน
    • กำหนดการและแบบฟอร์ม
    • โปรโมชั่น
    • ข้อมูลกองทุน
    • เปรียบเทียบกองทุน
    • KTAM Daily News
    • KTAM Edutainment
  • KTAM Smart Trade
  • PVD Online
  • Agent
TH : EN
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ KTAM
  • กองทุนรวม
  • กองทุน RMF/LTF/SSF/ThaiESG
  • กองทุน FIF/ETF
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์
  • เงิน ๆ ทอง ๆ
  • กองทุนรวม
  • รู้จักกับตลาดการเงิน
  • บริหารพอร์ตการลงทุน
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • กองทุนอสังหาริมทรัพย์
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ระบบคำนวณภาษีเพื่อลงทุน RMF/SSF/ThaiESG
  • แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน สำหรับบุคคลธรรมดา
  • แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน สำหรับนิติบุคคล
  • เงิน ๆ ทอง ๆ
  • กองทุนรวม
  • รู้จักกับตลาดการเงิน
  • บริหารพอร์ตการลงทุน
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • กองทุนอสังหาริมทรัพย์
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ระบบคำนวณภาษีเพื่อลงทุน RMF/SSF/ThaiESG
  • แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน สำหรับบุคคลธรรมดา
  • แบบประเมินความเสี่ยงการลงทุน สำหรับนิติบุคคล
  1. หน้าแรก
  2. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
  3. กองทุนรวม
กองทุนรวมทางเลือกหนี่งในการลงทุน
การลงทุนนั้นนอกจากเราจะลงทุนด้วยตนเองแล้ว เรายังสามารถลงทุนผ่านมืออาชีพได้ หากเราเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับธุรกิจหรือระบบนั้นๆ หรือแม้ว่าเราจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ก็ตาม หากแต่ไม่มีเวลาในการติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ 

“การลงทุนผ่านกองทุนรวม” เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจะมีมืออาชีพมาช่วยดูแลการลงทุนให้เราแทน
กองทุนรวมคืออะไร
กองทุนรวม เป็นการระดมเงินจากนักลงทุน มารวมกันเป็นก้อนใหญ่ แล้วจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จากนั้น บริษัทจัดการจะบริหารกองทุนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพเสนอความเป็นมืออาชีพในการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ
 
กองทุนรวม เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ บริษัทจัดการมีหน้าที่ในการกำหนดโครงการกองทุนรวม นโยบายการลงทุน และบริหารกองทุน ในกรณีที่บริษัทจัดการล้มละลาย กองทุนรวม จะไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ กองทุนรวมยังมีผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทจัดการ เป็นผู้ตรวจสอบบริษัทจัดการแทนผู้ลงทุน
ทำไมจึงควรลงทุนผ่านกองทุนรวม

1. เพิ่มโอกาสโดยไม่ต้องใช้เงินมาก
สร้างและเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยเงินจำนวนใม่มาก เช่น ผู้ที่มีเงิน 10,000 บาทก็สามารถนำมาลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้เช่นเดียวกับนักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันที่มีเงินลงทุนหลายล้านบาท
 
2. ประหยัดเวลาโดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมาก
ประหยัดเวลาของผู้ลงทุน โดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญและมีประสบการณ์ในการลงทุนสูงเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับการลงทุนตลอดเวลาทำให้มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และสามารถวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตัดสินใจได้ทัน ต่อสถานการณ์ เป็นผู้รับผิดชอบจัดการเงินลงทุน
 
3. กระจายความเสี่ยงโดยไม่ต้องมีเงินก้อนใหญ่
กระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังหลักทรัพย์หลายประเภท ซึ่งหากลงทุนเองจะต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่ และจะต้องอาศัยการวิเคราะห์วิจัยเพื่อจัดสัดส่วนการลงทุน
 
4. เลือกระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนได้หลายระดับ
การลงทุนในตราสารที่ต่างประเภทกัน ก็ย่อมให้ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น การลงทุนในตราสารทุน ก็ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ แต่โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในการลงทุนตราสารทุนก็สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสิน ใจลงทุน ในกองทุนประเภทใดนอกจากจะดูถึงโอกาสที่จะได้รับกำไรแล้ว ก็ควรจะต้องดูถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น รวมถึงต้องศึกษารายละเอียด ของแต่ละกองทุนให้ถ้วนถี่ด้วย เพราะนั่นหมายถึงความเสี่ยงในการลงทุน ที่เราจะต้องยอมรับตลอดไป ที่เราถือหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นๆ เราจึงควรจะ ชั่งน้ำหนักให้ดีว่า ความเสี่ยงระดับไหนที่เรายอมรับได้ ในระดับอัตราผลตอบแทนที่เราพอใจ
 
5. มีการควบคุมดูแลที่รัดกุมจากทางราชการ
มีกลไกป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการการลงทุน และความเสี่ยงเรื่องการฉ้อโกงที่ดี เพราะมีหน่วยงานต่างๆคอยควบคุมดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุนดังนี้
     

  • สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 
    มีหน้าที่ดูแลให้การดำเนินธุรกิจของกองทุนรวมเป็นไปอย่างชอบธรรม โดยกำกับดูแลทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุน
 
  • ผู้ดูแลผลประโยชน์ 
    มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการบริหาร กองทุนรวมของบริษัทจัดการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ใน รายละเอียดโครงการ โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อคอยสอดส่องการทำงานของบริษัทจัดการอีกชั้นหนึ่ง อีกทั้งเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวม และที่สำคัญ ผู้ดูแลผลประโยชน์ห้ามเป็นบริษัทในเครือเดียวกับ บลจ.
 
  • สมาคมบริษัทจัดการลงทุน 
    บริษัทจัดการต้องเป็นสมาชิกสมาคม ซึ่งสมาคมจะเป็นผู้กำหนดหลักจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพให้ผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุนรวม และพนักงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม รวมทั้งเป็นแหล่งรวมข้อมูลของธุรกิจการจัดการลงทุนสำหรับผู้สนใจอีกทางหนึ่ง


6. สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
กองทุนรวมไม่ถือเป็นหน่วยภาษี คือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้ทุกประเภทที่กองทุนได้รับจากการลงทุน ในขณะเดียวกัน เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนจากกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินปันผลหรือกำไรส่วนเกินทุน

ประเภทของกองทุนรวม
1. แบ่งตามลักษณะการไถ่ถอน
กองทุนรวมแบ่งตามลักษณะการไถ่ถอนหรือขายคืน ได้เป็น 2 ประเภท คือ


กองทุนเปิด 
ผู้ถือหน่วยสามารถซื้อ หรือขายคืนให้บริษัทจัดการได้ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
 
กองทุนปิด 
ผู้ถือหน่วยสามารถจองซื้อหน่วยลงทุนได้เพียงครั้งเดียว และไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุน
ให้แก่บริษัทจัดการได้

สรุปข้อแตกต่างระหว่างกองทุนเปิด และกองทุนปิด
 
ลักษณะ กองทุนเปิด กองทุนปิด
การซื้อหน่วยลงทุน สามารถซื้อจำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มได้ ตามที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน สามารถซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเริ่มโครงการได้เพียงครั้งเดียว
การไถ่ถอนหรือขายคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวันเวลาที่กำหนด ไม่สามารถไถ่ถอนคืนได้จนกระทั่งครบอายุโครงการ
จำนวนหน่วยลงทุน มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างอายุโครงการ เนื่องจากมีรการซื้อเพิ่ม หรือขายคืนหน่วยลงทุน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุโครงการ
อายุโครงการ มีทั้งกองทุนที่มีอายุโครงการ และไม่มีอายุโครงการ มีอายุแน่นอน
การซื้อขายในตลาดรอง - นิยมจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง เพื่อเป็นทางออกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการลงทุนจนครบอายุโครงการ


2. แบ่งตามนโยบายการลงทุน
 กองทุนรวมแบ่งตามนโยบายการลงทุน


กองทุนรวมที่ยื่นขอจัดตั้งกองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์จะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

   - กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (Retatil fund)
   - กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน (Non – Retail Fund)
 ซึ่งหมายถึง กองทุนรวมที่มีผู้ถือหน่วยทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนสถาบัน

ประเภทของกองทุนรวมแบ่งตามนโยบายการลงทุนได้แก่
1. กองทุนรวมทั่วไป ได้แก่

1.1. กองทุนรวมตราสารแห่งทุน ลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
1.2. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น ตามที่กำหนดตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1.3. กองทุนรวมผสม ลงทุนในหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน โดยสัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ

2. กองทุนรวมพิเศษ ได้แก่
  • กองทุนรวมหน่วยลงทุน (fund of funds) ลงทุนในหน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โดยเฉลี่ยใน รอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
  • กองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund) ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ที่มีกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลง ทุนในทรัพย์สินหรือทำสัญญานั้น
  • กองทุนรวมมีประกัน (guarantee fund) กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าหากผู้ถือหน่วยลงทุนได้ถือ หน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทนจากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจำนวนเงินที่ประกันไว้
  • กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) หมายถึง กองทุนที่บริษัทจัดการวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลง ทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
  • กองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (specific fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการกระจายการลงทุน น้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ กำหนดสำหรับกองทุนรวมทั่วไป
  • กองทุนรวมดัชนี (index fund) หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามการเคลื่อนไหวของดัชนี ราคาหลักทรัพย์ ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยดัชนีดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับจากสำนักงาน
  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) มีนโยบายนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุน ในต่างประเทศ
  • กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หมายถึง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการดำรง เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
  • กองทุนรวมวายุภักษ์ เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2546
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวและสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่เตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ และเป็น การสร้างหลักประกันอันมั่นคงให้แก่ตนเองและครอบครัว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษในการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึงร้อยละ 15 และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบข.แล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อปี และต้องลงทุนอย่างต่ำ 5,000 บาทหรือร้อยละ 3 ของราย ได้รวมทั้งปี ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามความเหมาะสมของตนเองได้
  • กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ หมายถึง กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการลงทุนในตลาดทุนในระยะยาว เป็นการสร้างเสริมเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทย ผู้ลง ทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยสามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดร้อยละ 15 ของเงินได้รวมทั้งปี และสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุนรวม
กองทุนที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษี
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
เป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวและสม่ำเสมอ สำหรับเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ และเป็นการสร้างหลักประกันอันมั่นคงให้แก่ตนเองและครอบครัว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษในการนำเงินที่ลงทุนในแต่ละปีไปลดหย่อนภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุดถึงร้อยละ 15 และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบข.แล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท ต่อปี และต้องลงทุนอย่างต่ำ 5,000 บาทหรือร้อยละ 3 ของรายได้รวมทั้งปี ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนตามความเหมาะสมของตนเองได้ ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีและ ลงทุนต่อเนื่องจนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตามสามารถงดการลงทุนได้ปีเว้นปี หรืองดลงทุนหากปีนั้นๆ ไม่มีรายได้
 
KTAM มีกองทุน RMFs ให้เลือกลงทุนหลากหลายตั้งแต่กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำไปยังกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง 
 
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
เป็นกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการลงทุนในตลาดทุนในระยะยาว เป็นการสร้างเสริมเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทย ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยสามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดร้อยละ 15 ของเงินได้รวมทั้งปี และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยผู้ลงทุนไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องแต่เงินลงทุนในแต่ละปีจะต้องถือไว้อย่าง น้อย 5 ปี
 
KTAM มีกองทุน LTFs ให้เลือกลงทุนโดยเริ่มต้นลงทุนได้ตั้งแต่ 500 บาทเท่านั้น 

 

 
ก่อนการตัดสินใจลงทุนผ่านกองทุนรวมในแต่ละครั้งนั้นต้องทำอย่าง
1. ศึกษาข้อมูลและสาระสำคัญเกี่ยวกับการลงทุนอย่างถี่ถ้วน โดยสามารถศึกษาได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้นๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่ากองทุนนั้นๆ มีนโยบายการลงทุน นโยบายการจ่ายปันผลอย่างไร มีวิธีการซื้อขายหน่วยลงทุน เป็นอย่างไร ท่านสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้กับบริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุนการจำหน่ายหน่วยลงทุน หรือผู้ขายหน่วยลงทุน

2. ค้นหาวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการลงทุนของท่าน เช่น ต้องการลงทุนในระยะสั้นหรือระยะยาว มีวัตถุประสงค์ในการ นำเงินที่ได้จากการลงทุนไปเพื่ออะไร ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน เพื่อใช้ในยามเกษียณอายุ เพื่อซื้อบ้านสักหลัง ซื้อรถสักคัน เพื่อการท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งเพื่อเก็บเป็นเงินทุนไว้ประกอบกิจการส่วนตัวหรือไว้ใช้จ่ายใน การรักษาสุขภาพตัวเองในอนาคต เป็นต้น แล้วนำมาเปรียบเทียบว่ากองทุนรวมใดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายใน การลงทุนของท่านมากที่สุด

3. ทำความเข้าใจกับความเสี่ยงต่างๆ โดยท่านต้องพิจารณาว่าการลงทุนนั้นมีระดับความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการรับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันไป เช่น หากท่านเป็นคนที่ไม่ต้องการความเสี่ยงเลยก็ต้องไปลงทุนโดยการฝากเงิน แต่หากท่านเป็นคนที่ พอจะยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง ท่านก็สามารถลงทุนโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเองโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็ได้ หรือหากท่านสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้นท่านก็สามารถลงทุนในกองทุนรวมที่ มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้เอกชน เช่น หุ้นกู้ หรือตราสารทุน เช่น หุ้นก็ได้ หรือท่านอาจสามารถพิจารณาได้จากอายุของตนเอง เช่น หากท่านอายุ 30 ปีและท่านยังคิดว่าจะทำงานจนกว่าอายุครบ 60 ปี แสดงว่าท่านยังมีเวลาและยังมีรายได้เข้ามาอีกประมาณ 30 ปี การรับความเสี่ยงก็สามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่าคนที่อายุ 60 ปีซึ่งเหลือแต่เวลาที่จะใช้เงิน และอาจไม่มีรายได้จากการรับเงินเดือนอีกต่อไป ก็สามารถที่จะเลือกลงทุนกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นกู้ หรือหุ้นทุน ก็ได้เป็นต้น

4. อย่าลืมดูว่ากองทุนที่ท่านสนใจนั้นๆ มีเงื่อนไขในการลงทุนอย่างไร เช่นเงื่อนไขการซื้อและขายหน่วยลงทุน โดยเฉพาะในเงื่อนไขของการขายคืนหน่วยลงทุน เพื่อท่านจะได้ทราบถึงสภาพคล่องในการลงทุนของท่าน หากท่านต้องการใช้เงินจากการลงทุน 

5. พิจารณาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะระบุไว้ทั้งหมดในหนังสือชี้ชวนและเอกสารการขายเพื่อท่านจะได้ทราบว่า มีค่าใช้จ่ายใด บ้างที่เรียกเก็บโดยตรงจากท่าน และมีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เรียกเก็บจากกองทุน

6. เลือกบริษัทจัดการที่ท่านพอใจ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติสำคัญๆ ดังนี้ มีใบอนุญาตหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนรวม มีทีมงานที่มีคุณภาพสูงด้านความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์สูง มีปรัชญาการจัดการลงทุนที่ดี และมีจรรยาบรรณ ซึ่งทั้งหมดจะสะท้อนออกมาจากผลการดำเนินงานและประวัติความผิดต่างๆ ที่สำนักงาน ก.ล.ต.บันทึกแสดงไว้ * หมายเหตุ: ก่อนการตัดสินใจลงทุนหากท่านมีข้อสงสัยใด ๆ หรือต้องการคำแนะนำในการลงทุนเพิ่มเติม ท่านควรสอบถามที่บริษัทจัดการหรือ ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดก่อนที่จะลงทุนทุกครั้ง
สิทธิที่ผู้ลงทุนควรทราบก่อนการตัดสินใจลงทุน
1. ท่านมีสิทธิในการได้รับทราบ รายชื่อของบริษัทจัดการทุกแห่งที่ได้มอบหมายให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนสนับสนุน เพื่อทำการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ซึ่งท่านสามารถสอบถามข้อมูลดังกล่าวได้จากพนักงานที่ทำหน้าที่ขายหรือรับ ซื้อคืน หน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนบสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ท่านติดต่อ

2. ท่านมีสิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ของบริษัทจัดการ ผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุน รวมทั้งชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัว ของพนักงานผู้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของนิติบุคคล โดยสามารถ สอบถามข้อมูลดังกล่าวได้จาก พนักงานที่ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ท่านติดต่อ

3. ท่านมีสิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วย ลงทุนที่ได้รับคำแนะนำเพื่อซื้อหน่วยลงทุนนั้น ตลอดจนรับทราบคำเตือนและคำอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน

4. ท่านมีสิทธิในการได้รับทราบข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิ ประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน เช่น การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อการควบกอง ทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม เป็นต้น

5. ท่านมีสิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนสนับสนุนอาจได้รับจากการซื้อหรือขายคืน หน่วยลงทุนของท่าน เป็นต้น

6. หากท่านยังไม่เคยเป็นลูกค้าของผู้ขายหน่วยลงทุนมาก่อน ท่านมีสิทธิในการแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่อในลักษณะที่เป็นการขาย หรือชักชวนเพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนในครั้งแรกโดยท่านมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ (Cold calling) ได้ทันที หากท่านไม่มีความต้องการที่จะลงทุน เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการรับฟังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน จากผู้แนะนำการลงทุน

7. หากท่านมิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน และยังไม่เคยเป็นลูกค้าของผู้ขายหน่วยลงทุนมาก่อน ท่านมีสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนหรือขายคืนหน่วยลงทุนในกรณีที่ เป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ (cold calling) โดยหากเป็นการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่อประชาชนครั้งแรก ท่านสามารถยกเลิกคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในสองวันทำการนับตั้งแต่วันถัด จากวันที่ระบุในใบจองซื้อหน่วยลงทุน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม หรือหาก เป็นการขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดในช่วงระยะเวลาหลังจากการขายหน่วยลงทุน ต่อประชาชนในครั้งแรก ท่านมีสิทธิขายคืนหน่วยลงทุนโดยได้รับ คืนตามราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันทำการรับซื้อคืน วันถัดจากวันที่แสดงเจตนาขายคืนหน่วยลงทุน และท่านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนหรือค่าใช้ จ่ายใดๆ

Shortcut Menu

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ KTAM
  • กองทุนรวม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • กองทุนอสังหาริมทรัพย์/
    โครงสร้างพื้นฐาน
  • กองทุน RMF/LTF/SSF/ThaiESG
  • กองทุน FIF/ETF
  • กองทุนผลงานดี
  • ตารางจ่ายเงินปันผล
  • ข่าว/บทวิเคราะห์
  • กลยุทธ์การลงทุน
  • กำหนดการและแบบฟอร์ม
  • โปรโมชั่น
  • ปฏิทินกองทุน
  • ภาพกิจกรรม
  • ประกาศราคากลาง
  • AIMC Category
    Performance Report
  • ถาม-ตอบ
  • ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
  • ประกาศความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการใช้งานคุกกี้
  • การตั้งค่าคุกกี้
  • สมัครรับข่าวสาร
  • ติดต่อเรา
  • ร่วมงานกับเรา
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
Go To Top
Stay Connect with us:
  • Facebook
  • Twitter
  • Youtube

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2559, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

KTAM Smart Plan: 0-2686-6100 กด 9 โทรสาร 0-2670-0430 ต่างจังหวัดโทรฟรี 1-800-295-592

อีเมล: callcenter@ktam.co.th

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0-1075-45000-37-3 : สำนักงานใหญ่

  • พันธมิตรธุรกิจ
  • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
  • แผนผังเว็บไซต์

การใช้และการจัดการคุกกี้

เว็บไซต์ของบริษัทฯ มีการใช้งานคุกกี้ (cookies) เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ คุณสามารถตั้งค่าและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ การใช้คุกกี้ของบริษัทฯ ได้ที่ ประกาศความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการใช้งานคุกกี้ และ การตั้งค่าคุกกี้

 การใช้และการจัดการคุกกี้

เมื่อท่านเข้าใช้เว็บไซต์ของเรา เราใช้คุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของเราจะ ทำงานได้อย่างถูกต้อง และเรายังใช้คุกกี้ประเภทอื่นๆ เพื่อรวบรวมพฤติกรรมการใช้ งานเว็บไซต์ของเราและนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงเพื่อสร้างประสบการณ์ การใช้งานเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถเลือกตั้งค่าการใช้งานคุกกี้ บางประเภทได้ตลอดเวลา และบริษัทจะไม่ใช้คุกกี้ที่ท่านเลือกปิดการใช้งาน

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเราที่ ประกาศความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการใช้งานคุกกี้


การกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้ที่จำเป็น

คุกกี้เหล่านี้ที่จำเป็นในการเปิดใช้คุณลักษณะการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย และการเข้าสู่ระบบ

คุกกี้วิเคราะห์

เราใช้คุกกี้ Google Analytics เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวบรวมและรายงานข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ คุกกี้ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคลโดยตรง