• X
  • ค้นหา
  • TH EN
      บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
      • Menu แนะนำ
        • NAV
        • กองทุนแนะนำ
        • กองทุนผลงานดี
        • ตารางจ่ายเงินปันผล
        • KTAM Channel
        • ข่าว/บทวิเคราะห์
        • กลยุทธ์การลงทุน
        • กำหนดการและแบบฟอร์ม
        • โปรโมชั่น
        • ข้อมูลกองทุน
        • เปรียบเทียบกองทุน
        • KTAM Daily News
        • KTAM Edutainment
        • KTAM Weekly Strategy
      • KTAM Smart Trade
      • PVD Online
      • Agent
      TH : EN
      • หน้าแรก
      • เกี่ยวกับ KTAM
      • กองทุนรวม
      • กองทุน RMF/LTF/SSF
      • กองทุนรวมต่างประเทศ/ETF
      • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
      • กองทุนส่วนบุคคล
      • กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์
      1. หน้าแรก
      2. กองทุน RMF/LTF
      3. ซื้อ SSF/RMF แบบ Asset Allocation กระจายความเสี่ยง ชนะความผันผวน

      ซื้อ SSF/RMF แบบ Asset Allocation กระจายความเสี่ยง ชนะความผันผวน

                       

      ปี 2020 กำลังจะผ่านไป ซึ่งการลงทุนที่ขาดไม่ได้ในช่วงปลายปีแบบนี้ คงหนีไม่พ้นกองทุนรวม SSF/RMF
      เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นวิธีลงทุนที่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้


      อย่างไรก็ดี หลายคนมักเข้าใจผิดว่า SSF/RMF เป็นเครื่องมือสำหรับลดหย่อนภาษีเท่านั้น จนละเลยเป้าหมายอื่นๆ
      ทั้งที่ความจริงแล้วสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นสิทธิพิเศษอย่างหนึ่งจากการลงทุนเท่านั้น เพราะ RMF เป็นกองทุน
      ที่ลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ส่วน SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาว



      ดังนั้น การศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ว่าตอบโจทย์เป้าหมายการเงินและเป็นระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ไหม หรือต้องสอดคล้องกับสภาวะตลาดไหม จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ SSF/RMF
       

      เรื่องของเรื่องคือ ปีนี้เป็นปีแห่งความผันผวนและไม่แน่นอนหลายอย่าง จนเราไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวว่าจะผิดพลาดจากการลงทุน ที่สำคัญไม่รู้จะเลือกกองไหนดีถึงจะเหมาะกับตลาดที่เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ในช่วงเวลานี้
       

      หลายคนตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อกองทุน SSF/RMF ดีไหม?
      กะว่าจะรอเงินบาทอ่อน นักท่องเที่ยวกลับมา ตลาดหุ้นฟื้นตัว ก็ยังไม่เห็นวี่แวว
      คือ รอไปรอมาตั้งแต่ต้นปียันท้ายปี สุดท้ายก็ยังไม่ได้ซื้อซักที

      “แล้วเราจะลงทุนกันอย่างไรดี เลือกกองทุนรูปแบบไหน ถึงจะเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันนี้มากที่สุด?”


      ...........................................................................................................................................................................
       

      KTAM ขอแนะนำหลักการง่ายๆ ที่เรียกว่า “Asset Allocation” หรือ “การจัดสินทรัพย์การลงทุน” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับเอาไว้ใช้ฝ่าฟันยามเศรษฐกิจผันผวนแบบทุกวันนี้ ด้วยการกระจายความเสี่ยง กระจายสินทรัพย์ลงทุน เพื่อเอาชนะความผันผวน

      อธิบายแบบให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คงเหมือนการ “อย่าเอาไข่ทุกฟองใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน” เพราะถ้าเกิดตกพื้นขึ้นมา ไข่ทั้งหมดก็จะแตกทันที “ถ้าเลือกหยิบไข่แต่ละฟองใส่ในตะกร้าหลายใบ” จะดูปลอดภัยกว่า เพราะถ้าเผลอทำตก ก็ยังมีไข่อยู่ในตะกร้าใบที่เหลือให้เราได้กิน

      ถ้าเปรียบ “ไข่” คือ เงินลงทุน และ “ตะกร้า” คือสินทรัพย์หรือทางเลือกในการลงทุน
      การหยิบไข่ใส่ตะกร้า ก็เหมือนกับการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เน้นการลงทุนหุ้นพื้นฐานดีในหลากหลายอุตสาหกรรม ที่มีโอกาสเติบโตแข็งแกร่งในอนาคต ผสมผสานกับสินทรัพย์ที่เน้นความมั่นคงปลอดภัยสูง
       

      ทำไมการลงทุนแบบ Asset Allocation ถึงสำคัญ?

      Asset Allocation เป็นการจัดสรรเงินลงทุนโดยกระจายไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการลงทุน ไม่ให้กระจุกตัวไปที่สินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกิน และยิ่งเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว สินทรัพย์ที่เราลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง ได้แก่
      1. เงินฝาก
      2. ตราสารทุน เช่น หุ้น
      3. ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้
      4. สินทรัพย์ทางเลือก เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ
      จะเห็นว่าการลงทุนแบบ Asset Allocation สามารถช่วยแก้ปัญหาความผันผวนของผลตอบแทนแต่ละชนิดได้ เพราะไม่มีสินทรัพย์ไหนการันตีผลตอบแทนที่ดีได้ตลอดในทุกๆ ปี ล้วนมีขึ้นมีลงตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ  แน่นอนเราไม่ได้สามารถหนีความผันผวนได้ แต่ลดความเสี่ยง เพิ่มความมั่นคง ด้วยการกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายการเงินมากที่สุด
       

      ก่อนลงทุนแบบ Asset Allocation ต้องรู้อะไรบ้าง?

      1. รู้เป้าหมาย เช่น เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ สมมุติว่าวางแผนจะเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี จะได้คำนวณได้ว่าควรมีสินทรัพย์เท่าใด เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เช่น อาจตั้งเป้าหมายผลตอบแทนที่ 10% ต่อปี 
      2. รู้จักสินทรัพย์ที่ลงทุน เช่น รู้จักหุ้นที่เราลงทุนว่าทำธุรกิจอะไร จะมีการเติบโตมากน้อยแค่ไหน
      3. รู้จักความเสี่ยง เพราะสินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เราเองก็รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน
      อย่างไรก็ดี การเลือกสินทรัพย์ให้ได้ผลตอบแทนตามความต้องการ และกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะต้องอาศัยทั้งความรู้และประสบการณ์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม "กองทุนแบบ Asset Allocation" ถึงน่าสนใจในภาวะตลาดผันผวนเวลานี้
       

      แนะนำกองทุนแบบ Asset Allocation ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

      สำหรับสภาวะตลาดผันผวนที่หลายคนกังวลอยู่ แล้วไม่รู้ว่าควรซื้อกองทุน SSF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีกองไหนดี
      KTAM ขอแนะนำ กองทุน "มั่งมีศรีสุข" SSF/RMF ที่ลงทุนแบบ Asset Allocation เน้นการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนต่อเนื่องในระยะยาว ทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการทางหนีทีไล่และกังวลเรื่องความผันผวนของตลาด รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
       

      ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
      การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมบนเว็บไซต์นี้ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดและนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
      กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
      ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุน SSF/RMF และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
      ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฏากร

      ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
       

      คำเตือน

       
      1) การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
      2)

       
      การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวม ดังกล่าว เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ โดยผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่า หรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้
      3) ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
      4)
       
      ในกรณีที่กองทุนไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
      5)
       
      ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจ และควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน
      6)
       
      ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถติดต่อบริษัทจัดการ หรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน หรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการทุกแห่ง
      7)
       
      กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ดังนั้น บริษัทจัดการจึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินการของกองทุนรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัทจัดการ
      8)
       
      ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (http://www.sec.or.th)
      9) บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการเช่นเดียวกันกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม โดยบริษัทจัดการจะจัดให้มีระบบงานที่ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามที่ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
      10) การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมบนเว็บไซต์นี้ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
      11) ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
      12) สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
        12.1) ผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนไปจำหน่าย โอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน
        12.2) ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนและจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
      13)
       
      บริษัทจัดการอนุญาตให้พนักงานลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อตนเองได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และประกาศต่าง ๆ ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และจะต้องเปิดเผยการลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการ เพื่อที่บริษัทจัดการจะสามารถกำกับและดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานได้
      14)
       


       
      ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ บริษัทจัดการได้ใช้ความพยายามในการจัดทำและรวบรวมขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อทำให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการและผู้บริหาร รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการ มิอาจรับประกันความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากข้อมูลนั้นเอง หรืออาจมาจากสาเหตุอื่นใด ดังนั้น หากผู้ลงทุนจะใช้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ เพื่อการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ลงทุนควรใช้ด้วยความรอบคอบ หรือใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ ประกอบดุลยพินิจในการพิจารณาตัดสินใจด้วย
      15)
       









       
      ลิขสิทธิ์ในภาพ ข้อความ หน้าจอต่าง ๆ ที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ของข้อมูลและสาระสำคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏในเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ โดยห้ามผู้ใดเผยแพร่ อ้างอิง ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือแก้ไข ด้วยวิธีการใด ๆ นำออกแสดง เผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล ให้อนุญาต เปลี่ยนแปลง ตีพิมพ์นำออกประกาศซ้ำ นำไปผลิตใหม่ นำไปใช้ซ้ำ ขาย ถ่ายโอน นำไปฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่ไม่ใช่ต้นฉบับ หรือดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจหรือเพื่อเป็นการเปิดเผยต่อสาธารณชน ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือโดยชัดแจ้งจากบริษัทจัดการก่อน อนึ่ง บริษัทจัดการและผู้บริหารรวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณี อันเกิดขึ้นจากกระทำของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือโดยชัดแจ้งจากบริษัทจัดการ กระทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลง รายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใด ๆ ในเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ และรายงานข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใด ๆ ในเว็บไซต์ของบริษัทจัดการนั้นได้เผยแพร่ออกไปไม่ว่าเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือเป็นการทั่วไป ในประการที่ อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือบุคคลอื่น การแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือ สื่อใด ๆ ในเว็บไซต์นี้ด้วยวิธีการใด ๆ โดยเจตนา หรือ โดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือ ชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผู้กระทำดังกล่าวนอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในทางแพ่งแล้ว อาจต้องรับโทษในทางอาญาอีกด้วย
      16) บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ในเว็บไซต์นี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด
         
      ข้าพเจ้าได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ข้างต้นแล้ว

      ยอมรับ

      Shortcut Menu

      • หน้าแรก
      • เกี่ยวกับ KTAM
      • กองทุนรวม
      • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
      • กองทุนส่วนบุคคล
      • กองทุนอสังหาริมทรัพย์/
        โครงสร้างพื้นฐาน
      • กองทุน RMF/LTF/SSF
      • กองทุนรวมต่างประเทศ/ETF
      • กองทุนผลงานดี
      • ตารางจ่ายเงินปันผล
      • ข่าว/บทวิเคราะห์
      • กลยุทธ์การลงทุน
      • กำหนดการและแบบฟอร์ม
      • โปรโมชั่น
      • ปฏิทินกองทุน
      • ภาพกิจกรรม
      • ประกาศราคากลาง
      • AIMC Category
        Performance Report
      • ถาม-ตอบ
      • ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
      • สมัครรับข่าวสาร
      • ติดต่อเรา
      • ร่วมงานกับเรา
      • นโยบายคุ้มครอง
        ข้อมูลส่วนบุคคล
      Go To Top
      Stay Connect with us:
      • Facebook
      • Twitter
      • Youtube

      สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2559, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

      KTAM Smart Plan: 0-2686-6100 กด 9 โทรสาร 0-2670-0430 ต่างจังหวัดโทรฟรี 1-800-295-592

      อีเมล: callcenter@ktam.co.th

      เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0-1075-45000-37-3 : สำนักงานใหญ่

      • พันธมิตรธุรกิจ
      • เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
      • แผนผังเว็บไซต์