KTAM Weekly Strategy ประจำสัปดาห์ที่ 19-23 ต.ค. 63
Melt Up
Melt Up เป็นภาวะที่ราคาสินทรัพย์เช่น หุ้น ทะยานขึ้นแบบเซอร์ไพรส์ สาเหตุสำคัญเพราะนักลงทุนจำนวนมากแห่เข้าซื้อด้วยอาการ “กลัวตกรถ” แม้ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไหร่ โดยภาวะ melt up มักตามมาด้วย melt down ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามคือ หุ้นตก
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่เริ่มต้นสัปดาห์ในแดนบวก จีนเผย GDP Q3 +4.9%YoY โตต่ำกว่าคาด แต่ก็ช่วยให้เศรษฐกิจเบอร์สองของโลกขยายตัว +0.7% ใน 9 เดือนแรก เดินหน้าสู่การเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่แห่งเดียวในโลกที่ GDP บวกได้ในปี 2020 ตามประมาณการของ IMF นอกจากนี้ตัวเลขเดือน ก.ย. แข็งแกร่ง ค้าปลีก +3.3% ผลผลิตอุตสาหกรรม +6.9% เร่งขึ้นและดีกว่าคาดทั้งคู่ ส่วนการลงทุนสินทรัพย์ถาวร เร่งขึ้นเท่ากับคาดการณ์
ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐบวกแรง (จันทร์เช้า) การเจรจาในสภาคองเกรสเข้าโค้งสุดท้าย ประธานสภาผู้แทนฯ Nancy Pelosi ขีดเส้นตาย 48 ชั่วโมงหลังคุย รมว.คลัง Steven Mnuchin คืนวันเสาร์ เร่งหาจุดลงตัวกับฝ่ายรีพับลิกันเพื่อออกแพคเกจเงินช่วยเหลือรอบใหม่ให้ทันก่อนเลือกตั้งปธน.
ตลาดหุ้นสหรัฐเข้าข่าย Melt Up ในมุมมองของเรา ส่วนหุ้นจีนภาพรวมมีพื้นฐานการเติบโตดีกว่า อันเนื่องมาจากปัจจัยหนุนด้านเศรษฐกิจ
ราคาน้ำมันเป็นอีกตัวแปรสำคัญ ซึ่งอาจกำหนดทิศทางตลาดหุ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ความคาดหวังเงินเฟ้อเริ่มย่อลงมาจากระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือน ขณะดัชนีหุ้นสหรัฐใกล้ all-time high ดังนั้น downside risks จึงค่อนข้างเปิดกว้าง แม้ระยะยาวเราเชื่อว่า ตลาดหุ้นโลกเป็นขาขึ้น
อีก 2 สัปดาห์จะถึง “อีเวนท์ใหญ่” เลือกตั้งปธน.สหรัฐ อาจกระตุ้นให้มีกิจกรรมเก็งกำไรหนาแน่น เปิดช่องลงทุนดีๆหากความผันผวนสูงขึ้นกดราคาย่อลงมา แต่จะเข้าไปรับโอกาสได้ก็ต่อเมื่อ มีสภาพคล่องเพียงพอ
สำหรับ #ขาลุย การจัดสัดส่วนพอร์ต 60:40 น่าจะเหมาะสมในระยะนี้ 60% เป็นกองทุนหุ้น เรายังคงเน้น 4 แนวรุกหลัก KT-Ashares, KT-WTAI, KT-CHINA, KT-EURO ส่วนอีก 40% พักไว้ในสภาพคล่องเช่น KTSTPLUS
รายงานพิเศษ: หุ้นยุโรปสดใสแม้โควิดระบาดหนัก
โควิดระบาดหนักขึ้นในยุโรป ยอดผู้ติดเชื้อทั้งทวีปทะลุ 7.2 ล้านคน ฝรั่งเศสประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ UK ดูเหมือนใกล้จะต้อง lockdown เยอรมนีออกกฎเพิ่มเติมเพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัส
Christine Lagarde ประธาน ECB สัปดาห์ที่แล้วให้สัมภาษณ์ระหว่างการประชุม IMF World Bank ส่งสัญญาณว่า “ยังต้องทำงานอีกมาก” เพื่อสู้โควิด โดยมีเครื่องมือนโยบายการเงินฉุกเฉินพร้อมใช้เพื่ออัดมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมประกอบด้วย ดอกเบี้ย forward guidance และโครงการซื้อสินทรัพย์ นอกจากนี้ Lagarde ยังแย้มว่าหลายชาติสมาชิกยูโรโซน “กำลังพิจารณา” อัดงบกระตุ้นการคลังเพิ่มเติม ล่าสุด บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลอิตาลีจับมือเตรียมเดินหน้าอนุมัติแพคเกจ 4 พันล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ
ECB กำลังทบทวนยุทธศาสตร์ครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ เพื่อปรับปรุงแนวทางบริหารเงินเฟ้อในยูโรโซน ซึ่งพลาดเป้าหมาย “ต่ำกว่าแต่ใกล้ 2%” มานานมากแล้ว แถมโดนโควิดกดเงินเฟ้อติดลบกลายเป็นเงินฝืด
เฟดประกาศใช้นโยบาย “เงินเฟ้อเฉลี่ย” ปลาย ส.ค. ตั้งใจดันเงินเฟ้อสหรัฐให้พุ่งเกิน 2% สักระยะเพื่อชดเชยตัวเลขต่ำๆในอดีต เราเคยชี้ชัดแล้วว่า ยุทธศาสตร์ใหม่ของเฟดเปิดทางให้ ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นวิ่งได้อีกยาวไกล (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “ไฟเขียว” KTAM Focus 30 ส.ค.) ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของเฟดน่าจะเพิ่มแรงจูงใจให้ ECB ดำเนินนโยบายทำนองเดียวกันบ้าง
กรรมการ ECB บางคนไม่อยาก copy + paste แนวทางเฟดมาใช้ดื้อๆ เพราะอยากได้ความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า ระดับหนี้สาธารณะซึ่งสูงแล้วก็ยังสูงขึ้นได้อีกในยูโรโซนจะบีบให้ ECB ต้องรีบหาวิธีใดๆ (อาจคล้ายหรือต่างจากเฟดก็ได้) เพื่อดันเงินเฟ้อขึ้นตามสูตร “แก้หนี้ด้วยเงินเฟ้อ” โดยไม่ชักช้า ...นี่คืออีกปัจจัยหนุนหุ้นยุโรป KT-EURO
สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน RMF เรามี 4 กองทุนผสมกำลังเสนอขาย IPO มั่ง มี ศรี สุข เพื่อการเลี้ยงชีพ (KTMUNG-RMF, KTMEE-RMF, KTSRI-RMF และ KTSUK-RMF) เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าว ต้องการผลตอบแทนสอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้ในระยะยาว โดยกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภท สามารถลงทุนอย่างน้อย 5 ปี และถือหน่วยจนครบอายุ 55 ปี ตามเงื่อนไขของ RMF
หมายเหตุ: ช่วง IPO เสนอขายผ่าน บลจ.กรุงไทย และ ผู้สนับสนุนการขาย
อ่านฉบับเต็ม คลิก
https://www.ktam.co.th/asset-allocation.aspx
-------------------------------------------------------------------------
'

