กองทุนรวมต่างประเทศ
ประเภทกองทุน | กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) |
ระดับความเสี่ยงกองทุน | 4 |
นโยบายการลงทุน | กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Jupiter Strategic Absolute Return Bond Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (share class) “I” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม |
กองทุนรวมหลัก | Jupiter Strategic Absolute Return Bond Fund |
ISIN กองทุนรวมหลัก | IE00BD9GFP91 |
Investment Manager | Jupiter Investment Management Limited |
นโยบายการลงทุน (กองทุนรวมหลัก) |
กองทุนจะพยายามบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุน โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ทั้งสถานะซื้อ และสถานะขาย (Long and Short)) ผ่านการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกองทุนเป็นกองทุนที่มีการลงทุนทั่วโลก โดยไม่ได้มีการลงทุนอย่างจำกัดหรือกระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือตลาดใดตลาดหนึ่งเป็นการเฉพาะ ภายใต้ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และอันดับเครดิตขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ กองทุนจะลงทุนเป็นหลักในพอร์ตการลงทุนซึ่งรวมถึง (แต่ไม่จำกัดเพียง) ตราสารหนี้ หรือตราสารหนี้ที่เป็นสกุลเงินในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ออกโดยรัฐบาล ผู้ออกที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล สถาบันที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ และองค์กรต่างๆ กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภท ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed) ตราสารอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ (inflation-link) ตราสารที่มีอัตราผันแปรและลอยตัว (variable and floating rate bonds) Asset-backed, Mortgage-backed และหลักทรัพย์แปลงสภาพ (convertible securities) กองทุนอาจใช้ประโยชน์จากตราสารตลาดเงิน ในการจัดการเงินสด ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จำกัดเพียงเงินฝาก บัตรเงินฝาก พันธบัตรปลอดดอกเบี้ยที่ออกโดยรัฐบาลและ/หรือองค์กร และตั๋วเงินคลัง โดยการลงทุนเหล่านี้จะไม่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาล หน่วยงานรัฐบาล หรือการค้ำประกันอื่นๆ ซึ่งอาจมีอยู่เพื่อปกป้องเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคาร ดังนั้น นักลงทุนควรทราบว่ามีความเสี่ยงที่มูลค่าการลงทุนในกองทุนอาจผันผวนได้ และกองทุนอาจลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ในตลาดตราสารหนี้ระหว่างธนาคารของจีน ซึ่งรวมถึงการลงทุนผ่านโครงการ Bond Connect (ตลาดตราสารหนี้ระหว่างฮ่องกงและสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตามที่กำหนดไว้ ภายใต้ข้อจำกัดการลงทุนที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน กองทุนลงทุนเป็นไปตามกฎของ UCITS โดยอาจลงทุนในตราสารประเภท transferable securities หรือตราสารตลาดเงินที่ออกหรือรับประกันโดยรัฐสมาชิก หน่วยงานท้องถิ่น รัฐที่ไม่ใช่สมาชิก หรือองค์กรสาธารณะระหว่างประเทศที่มีรัฐสมาชิกหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้นเป็นสมาชิก ภายใต้หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท และผู้ออกแต่ละรายจะต้องมีรายชื่ออยู่ในหนังสือชี้ชวน ซึ่งหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีการออกเสนอขายโดยผู้ออกตราสารที่แตกต่างกันอย่างน้อย 6 ราย ทั้งนี้ หลักทรัพย์ของผู้ออกตราสารใดๆ จะต้องไม่เกิน 30% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ และกองทุนอาจลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 20% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ในหลักทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าระดับ Investment Grade ซึ่งมีการจัดอันดับขั้นต่ำที่ระดับ B- โดย Standard & Poor’s หรือ B3 โดย Moody’s หรือการจัดอันดับที่เทียบเท่าโดยหน่วยงานจัดอันดับอื่นที่ได้รับการยอมรับ โดยกองทุนจะไม่ลงทุนใน Credit-linked notes หรือ Asset-backed securities ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับ Investment Grade โดยสำหรับตราสารที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ กองทุนอาจลงทุนได้ก็ต่อเมื่อผู้จัดการการลงทุนสามารถพิสูจน์หรือสรุปได้ว่าตราสารหนี้ดังกล่าวมีคุณภาพใกล้เคียงกันหรือเทียบเท่าตราสารที่สามารถลงทุนได้ หากตราสารที่กองทุนถือครองถูกปรับลดอันดับเครดิตในช่วงระยะเวลาการถือครองเป็นระดับต่ำกว่า B- โดย Standard & Poor’s หรือ B3 โดย Moody’s หรือการจัดอันดับที่เทียบเท่าโดยสถาบันจัดอันดับอื่นที่ได้รับการยอมรับ กองทุนจะมีเวลา 6 เดือนในการขายหลักทรัพย์เหล่านั้น กองทุนอาจลงทุนในหลักทรัพย์ประเภท Hybrid securities และ Structured Note กองทุนสามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 20% มูลค่าทรัพย์สินสุทธิใน Contingent convertible bonds (CoCos) ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนใน structured notes (ทั้งแบบ leveraged และ unleveraged) ซึ่งการจ่ายผลตอบแทนและการชำระคืนเงินต้น หรือกำหนดการชำระคืนแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับความผันผวนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ เช่น สกุลเงิน หรือดัชนีหุ้น กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุน (รวมถึงกองทุนรวมตลาดเงิน) ที่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของทางธนาคารกลาง ซึ่งรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนอาจจะลงทุนได้สูงสุดถึง 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดรัสเซียภายในประเทศ และการลงทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน/ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มอสโกเท่านั้น กองทุนสามารถลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (เช่น สัญญาทางการเงินที่มีมูลค่าเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง) โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างผลตอบแทน และ/หรือ ลดต้นทุนโดยรวมและความเสี่ยงของกองทุน กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อ (i) วัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยง (ii) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน และ/หรือ (iii) วัตถุประสงค์ในการลงทุน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดของทางธนาคารกลาง กองทุนสามารถเปิดสถานะซื้อ หรือ ขาย (Long and Short) โดยใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ซึ่งอาจส่งผลให้กองทุนเพิ่มสถานะการลงทุนให้มีมูลค่าสูงกว่า NAV ของกองทุน (leveraged) ได้ โดยการ leverage จะทำให้ความเสี่ยงของกองทุนต่อหลักทรัพย์อ้างอิงสูงขึ้น โดยภายใต้กรณีดังกล่าว ผลตอบแทนของกองทุนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากกว่าที่ลงทุนได้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และออปชั่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสกุลเงินอ้างอิง หรือเพื่อช่วยในการบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนของกองทุน โดยจะช่วยให้กองทุนสามารถดำเนินการตามสถานะสกุลเงินที่ต้องการซึ่งอาจไม่สัมพันธ์กับหลักทรัพย์อ้างอิงของกองทุนได้ กองทุนอาจใช้ Credit Default Swaps (“CDS”) ซึ่งกองทุนอาจซื้อ และ/หรือขายเพื่อลงทุนหรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงในผู้ออกหรือดัชนีของผู้ออก ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของสถานะเทียบเท่าการลงทุน (นอกเหนือจาก หรือเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับสถานะการลงทุนจริง) หรือสถานะ Short บนดัชนี กองทุนจะใช้ absolute VaR ในการคำนวณค่าความเสี่ยงในแต่ละวัน โดยค่าความเสี่ยงของกองทุนจะได้รับการตรวจสอบโดยใช้แบบจำลองการคำนวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด absolute VaR model เพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายของกองทุน จะไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน ในระยะเวลาการถือครอง 20 วัน และในระดับความเชื่อมั่น (one-tailed) 99% ข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี โดยกองทุนจะตรวจสอบระดับ leverage อย่างสม่ำเสมอ และระดับ Leverage ของกองทุนจะไม่เกิน 800% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เมื่อคำนวณโดยใช้ผลรวมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้ ทั้งนี้ตัวเลข leverage นี้เป็นการคำนวณโดยใช้ผลรวมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ใช้ตามข้อกำหนดของข้อบังคับ และด้วยเหตุนี้จึงไม่คำนึงถึงการจัดการสุทธิ และการป้องกันความเสี่ยงที่กองทุนมีอยู่ ณ เวลาใดๆ กองทุนอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อสร้างการลงทุนให้เทียบเท่าการลงทุนโดยตรงทั้งในสถานะซื้อและสถานะขาย (synthetic long and synthetic short positions) ในช่วงเวลาต่างๆ (โดยขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดและมุมมองของผู้จัดการกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไข) ตามข้อกำหนดของธนาคารกลาง ช่วงที่คาดหวังสำหรับสถานะซื้อและสถานะขาย (long and short positions) ของกองทุนอาจอยู่ระหว่าง 0% ถึง 400% สำหรับ Short exposure ร่วมกันกับ 0% ถึง 400 % สำหรับ Long exposure ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยช่วงสำหรับการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้ไม่จำกัด และความเสี่ยงอาจเกินขอบเขตในบางสถานการณ์ของกองทุน สำหรับกองทุนตราสารหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นส่วนสำคัญในการจัดการพอร์ตการลงทุน โดยการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในระดับสูง ไม่ว่าจะสถานะซื้อ หรือ ขาย (Long and Short) ไม่ได้แปลว่ามีความเสี่ยงสูงเสมอไป เนื่องจากการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจเป็นการป้องกันความเสี่ยงหรือตัวชดเชยที่ใช้ในการควบคุมพอร์ตการลงทุน กองทุนอาจมีสถานะ “อายุเฉลี่ยตราสารที่ถือครองติดลบ” (Negative Duration) ในบางครั้ง (เพื่อเป้าหมายให้ได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น) โดยการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า |
สกุลเงิน (กองทุนรวมหลัก) | USD |
นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ในรูปสกุลเงินบาท) | ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน |
นโยบายการจ่ายปันผล | ไม่จ่ายเงินปันผล |
มูลค่าขั้นต่ำของการสั่งซื้อครั้งแรก | 1.00 บาท |
มูลค่าขั้นต่ำของการสั่งซื้อครั้งถัดไป | 1.00 บาท |
วัน-เวลาทำการซื้อขายหน่วยลงทุน | ทุกวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุน ตั้งแต่เวลาเปิดทำการ – 15.30 น. ธนาคารกรุงไทย และตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายหน่วยลงทุนอื่น ๆ ผ่านระบบ Internet Trading : KTAM SMART TRADE (www.ktam.co.th) |
วันรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน | T+5 |
ค่าธรรมเนียมการจัดการ | ไม่เกิน 2.14% ต่อปี1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 0.535% ต่อปี1) |
ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ | ไม่เกิน 0.214% ต่อปี1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 0.025145% ต่อปี1) |
ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 0.535% ต่อปี1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 0.107% ต่อปี1) |
ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 3.21%1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 1.07% ของมูลค่าซื้อขาย) |
ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 3.21%1 (ปัจจุบันยังไม่เรียกเก็บ) |
Bloomberg Ticker | Ticker กองทุนรวมหลัก : OMSAIUA |